Tag Archives: พัฒนาการ
ดูแลลูกในหน้าฝน
ผิวพรรณร่างกาย
– เลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่เหมาะกับสภาพอากาศค่ะ หน้าหนาว อากาศเย็นๆ เช่นนี้ ควรใส่หมวก สวมเสื้อแขนยาว ขายาวให้ความอบอุ่นร่างกายกับลูกน้อย
– จะจัดเตรียมอุปกรณ์ เรื่องผิวพรรณให้พี่เลี้ยง เช่น โลชั่นหรือออย์ เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวลูกก็ไม่ว่ากันค่ะ แต่เน้นว่าต้องเป็นแบบธรรมชาติ ไม่เป็นอันตรายกับผิวของลูก
สิ่งแวดล้อม
– เปิดหน้าต่างเพื่อรับลมเย็นสบายแบบธรรมชาติ แทนการเปิดแอร์ ก็เป็นหนึ่งทางเลือกที่เซฟคอร์ส และลดปัญหาเรื่องผิวเป็นขุย มีอาการคัน หรือเรื่องภูมิแพ้อากาศ ได้ค่ะ
– อีกหนึ่งวิธีง่ายๆ ในการต้านโรค ก็คือการออกกำลังกายค่ะ โดยมีคุณออกแบบกิจกรรมง่ายๆ ให้พี่เลี้ยงชวนลูกสนุกเหมาะสมกับช่วงวัยของลูก
– นมแม่เป็นอาหารต้านโรคอย่างดี ที่ลูกควรได้ต่อเนื่องตั้งแต่แรกเกิด ถึง 6 เดือนแรก ฉะนั้น คุณต้องไม่ลืมจัดเตรียม กำชับพี่เลี้ยงเรื่องมื้อนมแม่ด้วยค่ะ
– สำหรับนมผสม เรื่องนี้พี่เลี้ยงต้องใส่ใจ ในเรื่องความสะอาด วิธีการเตรียม เพราะหน้าหนาวแบบนี้ เชื้อโรคมักอยู่ทน อยู่นาน อาจทำให้ลูกไม่สบาย ท้องร่วงจากอาหารที่ไม่สะอาดได้
– ถ้าลูกอร่อยกับอาหารเสริมได้แล้ว ก็ควรให้ลูกอิ่มตามหลักโภชนาการที่ถูกต้อง คือกินครบ 5 หมู่เป็นสำคัญ เพื่อให้ร่างกายรับสารอาหารครบถ้วน ร่างกายแข็งแรงไว้ก่อน
ช่วง นี้ไม่จำเป็นต้องอาบน้ำบ่อย เหมือนช่วงหน้าร้อน เพราะจะยิ่งทำให้ไขมันและสารความชุ่มชื้นถูกชะล้างออกไป แค่ 1 ครั้งก็พอ หรือให้พี่เลี้ยงใช้วิธีเช็ดตัวให้ลูกน้อยก็ยังได้ค่ะ
ลูกติดคอมและเทคโนโลยี
การ เร่งเด็กมากเกินความสามารถและพัฒนาการตามวัยของเขา ทำให้เด็กเสียโอกาสการเรียนรู้อย่างเหมาะสมตามวัย เพราะการเรียนรู้อย่างเหมาะสมเป็นขั้นตอนจะเป็นพื้นฐานที่ดีต่อการต่อยอด ความสามารถด้านอื่น เช่น เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็กในช่วงวัยนี้อาจทำให้เด็กซึ่งควรได้รับการ พัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวให้คล่องขึ้น มีการเคลื่อนไหวน้อยลง ทำให้ไม่สามารถพัฒนาตัวเองด้านนี้ได้เต็มที่ อาจทำให้เป็นเด็กที่เฉื่อยชา ซึ่งหมายถึงมีความล่าช้าของพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว ไม่ชอบการออกกำลังกาย ไม่ชอบกิจกรรมกลางแจ้ง เมื่อออกกำลังกายน้อยลงหากรับประทานเท่าเดิม หรือรับประทานมากขึ้นแต่มีการเคลื่อนไหวน้อยก็จะเกิดโรคอ้วนหรือน้ำหนักเกิน ตามมาได้ การให้เด็กอยู่กับเทคโนโลยีมากเกินความจำเป็นยังทำให้เด็กขาดทักษะในการ ติดต่อสื่อสารผ่านการพูดคุยกับผู้อื่น ทักษะในการปรับตัวเข้าหาผู้อื่น รู้จักแพ้ รู้จักชนะ รู้จักต่อรอง รู้จักอดทนรอคอย ซึ่งเป็นพื้นฐานของการใช้ชีวิตต่อไปในอนาคตของเขา
นอกจากนี้เด็กอาจ ได้เรียนรู้แบบอย่างที่ไม่ดีผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น จากรายการโทรทัศน์ จากโฆษณา หรือเกมคอมพิวเตอร์ต่างๆ ซึ่งอาจมีความรุนแรงหรือสอดแทรกค่านิยมที่ไม่เหมาะสมผ่านสื่อต่างๆเหล่านั้น นอกจากนี้อาจมีผลกระทบทางด้านสุขภาพร่างกายของเด็กเล็กๆ เช่น แสงจากจอคอมพิวเตอร์ หรือโทรทัศน์ที่ไม่เหมาะสมอาจมีผลต่อสายตาและการมองเห็นของเด็กได้
จัดการกับสื่อรอบตัว
แม้ รอบข้างจะมีสื่อที่ไม่เหมาะสมอยู่มากมาย แต่หากคุณพ่อคุณแม่พลิก วิกฤติให้เป็นโอกาสก็สามารถนำสิ่งที่ไม่เหมาะสมนั้น มาสอนให้ลูกได้เรียนรู้ได้เป็นอย่างดี ด้วยการประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างแก่ลูก เช่น ไม่บริโภคสื่อที่ไม่เหมาะสม ละครเรื่องไหนไม่ส่งเสริมการดำรงชีวิตที่ดีตามบรรทัดฐานของครอบครัวเราก็ไม่ ควรเปิดดู จำกัดเวลาดูโทรทัศน์และการใช้เวลาหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือเกมของลูกรวมกันแล้ว ไม่เกินวันละ 2 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนเด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปีไม่แนะนำให้ดูโทรทัศน์หรือเรียนรู้ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ นอกจากนั้นคุณพ่อคุณแม่เองควรต้องนั่งดูรายการโทรทัศน์กับลูกทุกครั้งโดย เฉพาะลูกในช่วงวัย 1-3 ปี เพื่อสอนให้ลูกได้เรียนรู้ค่านิยมและบรรทัดฐานของครอบครัวไปพร้อมกันด้วย
เทคโนโลยี นั้นอาจมีประโยชน์ หากเราใช้ให้เป็น แต่ก็อาจเป็นดาบสองคม หากเอามาใช้ผิดเพี้ยนไป หากสำหรับเด็กแล้ว ควรวางรากฐานพัฒนาการให้ได้พัฒนาอย่างเต็มที่ก่อน ซึ่งมีหลายเรื่องให้ได้เรียนรู้ โดยไม่จำเป็นที่ต้องเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีเสมอไป
ใน ปัจจุบันเด็กเล็กๆ เข้าถึงเทคโนโลยีรวดเร็วมาก ซึ่งสำหรับเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปีถือว่าเร็วไปมาก เพราะในอายุระหว่าง 1-3 ปีนี้ เด็กควรพัฒนาการเคลื่อนไหว พื้นฐานการช่วยเหลือตัวเอง เรียนรู้ทักษะทางด้านสังคมรวมทั้งการสื่อสารกับผู้อื่นเป็นหลัก เทคโนโลยีไม่สามารถทดแทนการเรียนรู้ผ่านการเล่นกลางแจ้ง การทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้
นอกจากนั้นพื้นฐานของพัฒนาการซึ่งมี ความจำเป็นในการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้ก็ยังพัฒนาได้ไม่ดี เช่น การควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อมือ การทำงานที่ประสานกันระหว่างสายตาและมือ ช่วงวัยนี้เด็กยังไม่สามารถเข้าถึงสื่อต่างๆ ได้ด้วยตัวเอง จึงเป็นบทบาทหน้าที่ของคุณพ่อ คุณแม่ที่จะต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมของการเข้าถึงสื่อและเทคโนโลยีตาม บริบท และบรรทัดฐานของครอบครัว อย่างไรก็ตามไม่แนะนำให้ใช้เทคโนโลยีโดยมีเป้าหมายส่งเสริมการเรียนรู้และ พัฒนาการของเด็กในช่วงวัยนี้
กินอย่างไรให้ลูกฉลาด
อาหารที่มีโฟเลทสูง: ผัก ใบเขียว บร็อกโคลี ผักโขม ผลไม้ ถั่ว ธัญพืช ตับหมู ขนมปังโฮลวีท แต่ควรรับประทานสดๆ หรือไม่ปรุงนานเกินไป เพราะกรดโฟลิกจะสลายตัวเมื่อถูกความร้อนสูง
กรดไขมัน DHA โอเมก้า 3
เนื่องจากเป็นช่วงที่สมองกำลังมีพัฒนาการ กำลังแบ่งเซลล์ สารอาหารที่จำเป็นในการสร้างเซลล์สมองคือกรดไขมัน DHA โอเมก้า 3 ช่วยพัฒนาสมองลูกน้อยในครรภ์
Food
ปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาทู ปลาทูน่า ปลาแซลมอน ปลาโอลาย
Modern mom tip: หากคุณแม่มีอาการแพ้ท้อง เหม็นกลิ่นอาหารง่าย แนะนำให้รับประทานถั่วเหลือง เมล็ดอัลมอนด์ หรือเมล็ดฟักทอง แทนได้ค่ะ
ตั้งครรภ์ไตรมาสแรก “อาหารสร้างเซลล์”
เมื่อตั้งครรภ์ระบบภายในร่างกายคุณแม่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ทั้งระบบการไหลเวียนของเลือด จึงต้องใช้พลังงานและแบ่งสารอาหารเพื่อเลี้ยงลูกน้อยในครรภ์
ลูกน้อยใน ครรรภ์ช่วงนี้ เซลล์มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เริ่มสร้างอวัยวะทั้งด้านร่างกาย โครงกระดูก แขน ขา รวมถึงอวัยวะภายใน หัวใจ ตับ ปอด สมอง ไต ดังนั้น สารอาหารที่จำเป็นในช่วงนี้คือ
กรดโฟลิกหรือโฟเลท
เป็นสารอาหารจำ เป็นที่ช่วยพัฒนาระบบประสาท มีบทบาทสำคัญในการแบ่งเซลล์สร้างสมอง และกระดูกไขสันหลัง ป้องกันความผิดปกติของของสมองและไขสันหลังด้วย (Neural tube defect) มีการศึกษาพบว่าคุณแม่ที่ขาดกรดโฟลิกจะมีโอกาสที่คลอดลูกแล้วมีความพิการทาง สมองมากกว่าปกติ
ตั้งครรภ์ไตรมาสสอง “เซลล์ขยายขนาด”
เมื่อร่างกายเริ่มสร้างอวัยวะครบแล้ว ในช่วงไตรมาสแรกที่สองเดือนที่ 4-6 เซลล์ในร่างกายลูกน้อยจะเริ่มขยายขนาด อวัยวะต่างๆ ของลูกน้อยจะขยายขนาดขึ้น ลูกเริ่มเคลื่อนไหวร่างกายได้ มีเล็บ มีผม มีขนคิ้ว ส่วนสมองก็เป็นช่วงที่พัฒนาการมากขึ้นในช่วงไตรมาแรกถึง 4 เท่า
ช่วงนี้แม่ตั้งท้องจึงจำเป็นต้องได้รับอาหาร เพิ่มขึ้นอีกวันละ 300 กิโลแคลอรี เพื่อให้เพียงพอกับการพัฒนาเซลล์ที่ขยายขนาดขึ้น ขณะเดียวกันขนาดของมดลูกของคุณแม่ก็เริ่มขยายตัวตามขนาดตัวลูกขึ้น ช่วงนี้คุณแม่พยายามทำจิตใจให้สดชื่นแจ่มใสเข้าไว้ เพื่อให้การสร้างอวัยวะไม่ชะงัก
เหล็ก
เมื่อลูกน้อยในครรภ์กำลังขยายขนาดของเซลล์ร่างกาย จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องการอาหารในปริมาณมาก ขณะที่ร่างกายคุณแม่ก็ต้องการเลือดมากขึ้นเพื่อนำออกซิเจนและสารอาหารส่งต่อไปยังลูกน้อยในครรภ์ จึงจำเป็นที่จะต้องได้รับสารอาหารที่ ช่วยบำรุงเลือด ช่วยสร้างให้มีจำนวนเม็ดเลือดแดงเพียงพอ เพื่อป้องกันอาการโลหิตจาง ภาวะซีดที่อาจจะเกิดกับคุณแม่ นอกจากนี้ควรได้รับวิตามินซีควบคู่กันไป เพราะวิตามินซีมีช่วยเพิ่มการดูดซึมของธาตุเหล็กให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว ส้ม มะนาว กีวี ฝรั่ง
Food
ลูกร้องกลางดึก
ปัญหา การนอนนี่ พบได้บ่อยครับ เด็กบางคนแยกที่นอนกับพ่อแม่ ก็มักจะตื่นร้อง แล้วปืนขึ้นเตียงพ่อแม่หรือมานอนที่นอนกับพ่อแม่จนเช้า คนที่มีอาชีพที่ต้องอยู่เวร คงเข้าใจดีถึงการอดหลับ อดนอนว่าเป็นอย่างไรนะครับ อยู่เวรวันนี้ ยังไงพรุ่งนี้ก็ยังได้นอนพัก แต่ใครที่มีลูกเล็กๆ ที่มีปัญหาการนอนจะแย่กว่ามากเพราะมันเป็นประสบการณ์อยู่เวร อยู่ยามทุกคืน โดยไม่มีวันได้หยุดพักเลยครับ เมื่อลูกตื่น พ่อแม่ก็ต้องตื่น (พ่อบางคนอาจไม่ตื่น แต่คนเป็นแม่ตื่นแน่) อดนอนหลายคืนแล้ว ทุกเช้าก็ต้องไปทำงานตามปกติ เล่นเอาคุณพ่อคุณแม่หลายคนถึงกับโทรม เดินไปทำงานแบบเบลอๆ เลยครับ ปัญหาการนอนของลูกอาจเริ่มตั้งแต่รับลูกมาจากโรงพยาบาลจนบางทีไปถึงวัย อนุบาลก็ได้ครับ เราลองมาทำความเข้าใจเรื่องการนอนของเด็กกันดีกว่านะครับ
การที่เราเอาขวดนมใส่ปากแล้วเด็กทารกหยุดร้องชั่วคราวนั้นเกิดจากกลไกทาง ระบบประสาทที่เรียกว่ารีเฟลกซ์ (Sucking reflex) ครับ โดยเมื่อมีวัตถุเช่นจุกนมหรือหัวนมแม่เข้ามาสัมผัสในปาก ระบบประสาทจะสั่งให้เกิดการดูดโดยอัตโนมัติ เมื่อต้องดูดก็ต้องหยุดร้อง เพราะไม่มีใครสามารถดูดไปด้วยร้องไปด้วยในเวลาเดียวกัน เหตุการณ์ซ้ำๆ แบบนี้ล่ะครับ จะทำให้พ่อแม่หลายคนคิดว่าลูกร้องเพราะหิว เพราะเอานมใส่ปากทีไร ก็หยุดร้องทุกที เด็กเองก็ถูกฝึกให้คุ้นเคยกับการตื่นขึ้นมากินนมตอนกลางคืน ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงเงื่อนไขนี้เมื่อลูกร้องกลางคืนก็ควรปฏิบัติตามขั้น ตอนเช่นหาสาเหตุก่อน เช่นเปียกอุจจาระ ปัสสาวะหรือไม่ อากาศร้อน เย็นเกินไป ถ้าไม่เจอสาเหตุลองตบก้นให้หลับหรืออุ้มปลอบดูก่อน ถ้าไม่หยุดจริงๆ อาจให้ดูดน้ำจากขวดนม เด็กหลายคนก็จะหลับต่อได้ โดยไม่ต้องให้นม ร่วมกับทำตามข้อปฏิบัติเพื่อการนอนที่ดีของลูกดังนี้
การนอนกับพัฒนาการตามวัย
การ นอนก็เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการเด็กครับ จากการศึกษาวิจัย เด็กทารกจะใช้เวลากับการนอนมากถึง 16 ชั่วโมงต่อวัน โดยมักตื่นร้องทุก 3 – 4 ชั่วโมง ซึ่งสัมพันธ์กับความหิว เนื่องจากเด็กทารกต้องกินนมทุก 3 – 4 ชั่วโมงนั่นเอง ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เด็กทารกจะตื่นกลางคืนทุก 3 – 4 ชั่วโมง ในช่วงนี้คุณพ่อคุณแม่คงต้องทนเหนื่อยไปก่อนครับ แต่เมื่อเด็กโตขึ้นก็จะหลับกลางคืนได้นานขึ้น โดยพบว่าร้อยละ 70 ของเด็กอายุ 3 เดือนจะเริ่มหลับยาวได้เกือบตลอดคืน และที่อายุ 4 เดือนเด็กหลายคนจะหลับต่อเนื่องได้ถึง 8 ชั่วโมง ดังนั้นพอลูกอายุ 3 – 4 เดือนคุณพ่อคุณแม่หลายคนก็จะเริ่มสบายขึ้น แต่ก็พบว่าเด็กส่วนหนึ่งยังตื่นร้องกลางคืนไปเรื่อยๆ ปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากการที่พ่อแม่ให้นมลูกบ่อยเกินไป เช่นในตอนกลางวันพ่อแม่ให้นมลูกทุก 1 – 2 ชั่วโมง หรือให้นมทุกครั้งที่ลูกร้องเด็ก กลางคืนลูกก็ตื่นร้องบ่อยเพื่อกินนมเหมือนช่วงกลางวัน (Trained night feeders) อีกปัญหาหนึ่งเกิดจากการที่พ่อแม่ตอบสนองต่อการตื่นของลูกทุกครั้งด้วยการ ให้นม (Trained night crier) อันนี้พบบ่อยมากจริงๆ ครับ คือเวลากลางคืน ถ้าลูกร้อง ไม่ว่าจะร้องดัง หรือแค่ร้องแอ๊ะๆ ก็รีบเอาขวดนมใส่ปากทันที ถ้าทำอย่างนี้เด็กจะถูกฝึกให้ตื่นร้องมากินนมกลางคืนไปตลอด คราวนี้ล่ะครับ แทนที่จะได้หลับยาวๆ ตามที่ควรจะเป็น ก็เลยร้องตื่นคืนละ 3 – 4 รอบ ทำให้พ่อแม่อดหลับอดนอนไปตามๆ กัน เหมือนอย่างกรณีของเฟรม
- ให้ลูกหลับ บนเบาะหรือเตียงเสมอ ไม่อุ้มเดินให้เด็กหลับคาอกแล้วจึงเอาไป วางบนเบาะ คุณพ่อคุณแม่บางคนเมื่อลูกร้องมักจะอุ้มไปมาเป็นชั่วโมงๆ ให้ลูกหลับคาอกขณะอุ้ม ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ไม่ถูกต้องครับ วันหลังก็ต้องทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ พ่อแม่บางคนปวดหลังไปเลย เพราะลูกโตขึ้น ก็หนักมากขึ้นเรื่อยๆ
- จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการนอนหลับเช่น เงียบ ไม่มีเสียงรบกวน ปรับอากาศให้เย็นสบาย มืด ปิดไฟนอน ไม่เปิดไฟหรือเปิดทีวีในห้องนอนทิ้งไว้
- ก่อนเข้านอนไม่กระตุ้นหรือ เล่นกับลูกมากเกินไป คุณพ่อบางคนทำงานมาก กลับบ้านดึก มาถึงก็พยายามเล่นกับลูกการเล่นกับลูกก็ดีอยู่ครับ แต่ถ้าเล่นใกล้เวลาเข้านอนมาก หรือเล่นจนเด็กสนุกตื่นเต้นมากเกินไป อาจมีผลต่อการนอนหลับได้
ในกรณีของเฟรม หลังจากคุณพ่อคุณแม่เข้าใจที่มาของปัญหาแล้ว สรุปว่าเฟรมถูกตั้งเงื่อนไขในการนอนไว้ดังนี้คือตื่นขึ้นมาต้องมี
- พ่อแม่กอดตามด้วยการอุ้มเดิน และเปิดไฟ
- เสียงเรียกหรือพูดคุยของพ่อแม่
- ที่สำคัญต้องมีนมขวดให้
- หลับบนอก บนตักหรือขณะพ่อแม่อุ้มอยู่
คุณ พ่อคุณแม่ก็ค่อยๆ ถอนการตอบสนองออกทีละอย่าง เริ่มจากคุณพ่อคุณแม่ไม่พาเดินรอบห้อง อีก 2 – 3 วันต่อมาเริ่มไม่เปิดไฟ ไม่พูดคุย พยายามให้หลับบนที่นอนตัวเอง ต่อมาก็พยายามจะไม่อุ้มขึ้นมา ต่อมาอีก 2 – 3วันก็ค่อยๆ ลดความถี่ในการให้นมขวด บางทีก็เริ่มให้น้ำเปล่าแทนนมขวด จากนม 4 ขวดต่อคืนก็ลดเหลือ 3 2 1 ขวด ใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ เฟรมก็เริ่มร้องน้อยลงและไม่ค่อยตื่นกลางคืนแล้ว
ลูกนอนดึก ตื่นสาย
แทบ ไม่น่าเชื่อว่าผมได้พบเด็กชายอายุ 2 ปีอีกคนหนึ่งที่นอนดึกมาก คือกว่าจะนอนเกือบตี 1 แล้วไปตื่นเอา 10 โมงเช้า รายนี้พ่อแม่ขายของกลางคืน เลยเลิกงานดึกเกือบเที่ยงคืน ลูกก็รอเล่นด้วย พอจะปิดไฟให้นอน ลูกก็ร้องไห้ ไม่ยอม จะเล่นต่อ พ่อแม่เห็นลูกร้องมากก็ตามใจ เด็กก็เริ่มนอนดึกขึ้นเรื่อยๆ หรือบางทีปัญหาการนอนของลูกอาจเกิดจากคุณพ่อคุณแม่บางคนมีพฤติกรรมนอนดึก อย่างอื่นเช่นชอบนั่งดูทีวี หรือเล่นคอมพิวเตอร์จนดึก เด็กมักคุ้นเคยกับการนอนดึกตามไปด้วย ผลเสียของการนอนดึกเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโต (Growth hormone) ซึ่งจะหลั่งออกมาในสมองเฉพาะเวลานอนหลับตอนกลางคืนเท่านั้น มันจะไม่หลั่งเวลาเช้าหรือสายๆ ดังนั้นเด็กที่ไม่นอนกลางคืน แต่มานอนกลางวัน ฮอร์โมนนี้จะหลั่งออกมาน้อยอาจมีผลกระทบการเจริญเติบโตได้ ดังนั้นเด็กจึงไม่ควรนอนดึกเกิน 4 ทุ่มครับ สำหรับเด็กที่นอนผิดเวลาไปแล้ว อาจปรับพฤติกรรมโดยลองปลุกลูกให้เช้ากว่าปกติ เช่นปกติตื่น 10 โมงเช้าก็ค่อยๆ ปลุกเร็วขึ้นเป็น 9 โมงครึ่ง วันต่อไปก็เป็น 9 โมงเช้า เด็กอาจง่วงนอนตอนกลางคืนเร็วขึ้น เราก็พยายามค่อยๆ เอาลูกเข้านอนเร็วขึ้นเช่นเคยนอนเที่ยงคืน ก็เลื่อนลงเป็น 5 ทุ่มครึ่ง เป็น 5 ทุ่มพร้อมกับจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการนอนหลับอย่างที่แนะนำไปแล้วตอนต้น
นอกจากนี้เด็กส่วนใหญ่จะมีการนอนกลางวัน ซึ่งปกติแล้วเด็กทารกมักมีนอนกลางวัน (nap) ประมาณ 1 – 2 ครั้งต่อวัน ครั้งละ 1 – 2 ชั่วโมง ส่วนเด็กอายุ 2 – 3 ปีก็จะมีนอนกลางวัน ประมาณ 1 ครั้งต่อวัน ถ้าเด็กมีปัญหานอนดึก ให้ลองสำรวจว่านอนกลางวันกี่ครั้ง เวลาใดบ้าง ที่ผมเคยเจอบ่อยๆ ก็คือเด็กบางคนมีนอนกลางวัน 2 ครั้ง ครั้งที่ 2 อาจเป็นตอนเย็นหรือหัวค่ำ เช่นถ้านอนตอน 6 โมงเย็นถึง 1 ทุ่มไปแล้ว ก็จะทำให้เด็กนอนดึกขึ้นเช่นนอน5 ทุ่มหรือเที่ยงคืน ดังนั้นควรปรับการนอนกลางวันให้เหลือครั้งเดียว เอาเฉพาะที่ง่วงจริงๆ และเลื่อนเวลานอนตอนเย็นหรือหัวค่ำไปเป็นนอนช่วงบ่ายแทน
ปัญหาการนอน ในเด็กเป็นเรื่องที่พบได้บ่อย และแตกต่างจากปัญหาการนอนของผู้ใหญ่ ถ้าคุณพ่อคุณแม่ให้ความสำคัญกับการนอนของลูก คอยป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น หรือถ้ามีปัญหาก็ปรึกษาแพทย์เพื่อคำแนะนำที่ถูกต้อง ถ้าทำได้อย่างนี้ก็จะช่วยให้พัฒนาการและสุขอนามัยของลูกดีขึ้นและพ่อแม่ก็ ไม่เครียด ได้นอนหลับพักผ่อนตามลูกไปด้วยครับ
กิจกรรมเพื่อลูกน้อย
แรกเกิด – 3 เดือน
พัฒนาการของ ลูกในช่วงวัยนี้ คือการพยายามทำเสียงต่างๆ ในคอ ส่งเสียงอ้อ แอ้ อือ ออ มองตามสิ่งของที่เคลื่อนไหว โดยเฉพาะที่มีสีสันสดใส ชอบกำมือและพยายามคว้าจับสิ่งของ และเมื่อได้ยินเสียงจะชะงัก แต่ยังหันไปตามเสียงไม่ได้ในทันที
พ่อแม่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการ…
• ลองเล่นเกมทายใจลูก พยายามสังเกตเสียงและท่าทางของลูกว่าต้องการสื่อสารอะไร ส่งยิ้ม ทำเสียงอือ ออไปกับลูก และบอกกับลูกตลอดเวลาว่าจะทำอะไรกับเขา
• ร้องเพลงให้ลูกฟังเวลาที่เปลี่ยนผ้าอ้อม ให้นม หรือขณะอาบน้ำให้ลูก
• อุ้มและลูบไล้สัมผัสตัวลูกบ่อยๆ ใช้นิ้วไต่ไปตามตัวลูก ใส่นิ้วในอุ้มมือลูกให้ลูกกำ
• แขวนโมบายสีสดใสหรือมีเพลงบรรเลงไว้ ให้ลูกมองตามและหัดคว้าจับ
• ชี้ชวนให้ลูกดูสิ่งต่างๆ รอบตัว ส่งเสียงเรียก หรือเขย่าของเล่นให้ลูกมองหาที่มาของเสียง
3 – 6 เดือน
ลูก วัยนี้เริ่มเลียนแบบเสียงและการเคลื่อนไหว และพยายามใช้นิ้วโป้งหรือนิ้วชี้หยิบของ และถ่ายของจากมือหนึ่งไปอีกมือได้ รวมทั้งคืบไปข้างหน้าหรือข้างหลังและเอื้อมหยิบของได้
พ่อแม่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการ…
• พูดคุยและเล่นกับลูกบ่อยๆ เช่น เล่นเกมจ๊ะเอ๋ นอกจากจะฝึกให้ลูกเห็นการเคลื่อนไหวและการใช้เสียงแล้ว ยังเป็นการเริ่มพัฒนาทักษะทางภาษาให้ลูกรู้ว่าเวลาเราพูดกัน เราจะผลัดกันพูดและผลัดกันฟังด้วย
• บีบของเล่นมีเสียงให้ลูกฟัง ส่งของเล่นกรุ๋งกริ๋งให้ลูกถือเขย่า
• ส่งของเล่นขนาดต่างๆ ให้ลูกรับไปถือไว้ แล้วบอกให้ลูกหยิบมาส่งคืน
• เล่นรถไฟ ปู๊น ปู๊น โดยใช้เชือกผูกของเล่นเล็กๆ ไว้ แล้วให้ลูกลากเข้ามาหาตัว หรือให้ลูกหัดคืบตามหลังขบวนรถไฟของเล่นที่คุณพ่อคุณแม่เป็นคนลากก็ได้
6 เดือน – 1 ปี
ลูก เริ่มนั่ง และคลานได้ เกาะโซฟาเพื่อพยุงตัวลุกขึ้นยืนเองได้ เริ่มเลียนเสียงและแสดงสีหน้ากับคนใกล้ชิดเพื่อแสดงอารมณ์ได้ สามารถพูดได้ 2 – 3 คำ
พาลูกเดินเล่นบ่อยๆ ให้ลูกได้สำรวจผู้คน และสิ่งของต่างๆ พร้อมกับหัดพูดเป็นคำๆจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว
• อ่านหนังสือให้ลูกฟัง หัดให้พลิกดูทีละหน้า หรือลองอ่านข้ามหน้าเพื่อกระตุ้นความสนใจของลูก
• ให้ลูกเล่นโทรศัพท์ของเล่น ทำทีเป็นพูดโทรศัพท์หาคนอื่น ผลัดกันคุยกับลูกทางโทรศัพท์ของเล่น
• ปล่อยให้ลูกได้เล่นสนุกกับน้ำ โดยเตรียมถัง ขวด หรือแก้วพลาสติกไว้ ให้ลูกลองรินน้ำ เทน้ำ เติมน้ำ กรอกน้ำจนล้นขวด แล้วเทน้ำออกจากขวด การตีน้ำให้กระจาย เป็นต้น
ขอ ย้ำว่า ตลอดเวลาการทำกิจกรรมต่างๆ คุณพ่อคุณแม่ควรอยู่เคียงข้างและเป็นกำลังใจให้ลูกเสมอ เพราะสิ่งสำคัญเหนือกิจกรรม คือ อ้อมกอดที่อบอุ่นด้วยความรักของคุณพ่อคุณแม่นั่นเองค่ะ2-3 ปี
วัย นี้เริ่มจะวิ่ง กระโดด และโยนลูกบอลได้แล้ว และรู้จักเล่นกับเด็กคนอื่นๆ และยอมแบ่งปันบ้างแล้ว อีกทั้งยังชอบเลียนแบบกิจกรรมในชีวิตประจำวันของคุณพ่อคุณแม่ ชอบพูดคุยถึงสิ่งที่ตัวเองรู้ และเล่าเรื่องสมมุติได้
กิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการ…
• ส่งเสริมกิจกรรมกลางแจ้ง ให้ลูกได้วิ่งเล่นอย่างอิสระกับเด็กคนอื่นๆบ้าง
• ปล่อยให้ลูกมีโอกาสช่วยงานประจำวันเล็กๆ น้อยๆ เช่น พับผ้า ล้างจาน กวาดบ้าน ล้างรถ ถูพื้น เป็นต้น
• อ่านนิทานเล่มเดิมให้ลูกฟังซ้ำๆ แล้วให้ลูกเล่าให้ฟังหรือเล่าต่อจากที่คุณเว้นไว้ให้
• ชวนลูกเล่นเกมบทบาทสมมุติ โดยจัดหาอุปกรณ์ เสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้ว ให้ลูกได้แต่งตัวเป็นคนในอาชีพต่างๆ ที่ลูกเคยเห็น เช่น คุณหมอ ตำรวจ ทหาร ครู หรือแต่งเป็นตัวละครในนิทานต่างๆ
พ่อแม่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการ…
• กระตุ้นให้ลูกคลาน เดินเตาะแตะไปหาของเล่น หรือคนคุ้นเคยที่นั่งใกล้ๆ โดยยิ้ม ปรบมือเป็นกำลังใจไปด้วย
• ชี้ชวนกันดูอัลบั้มภาพสมาชิกในครอบครัว ส่งเสียงแสดงความตื่นเต้น สนุกสนานเมื่อเห็นรูปภาพที่น่าสนใจ
• อ่านหนังสือนิทานและเล่านิทานให้ลูกฟังทุกวัน โดยอุ้มลูกนั่งตักและถือหนังสือให้กางออกตรงหน้าลูก ชี้ให้ลูกดูรูปภาพ เพื่อให้ลูกมีส่วนร่วม อาจหาหุ่นมือหรือ ตุ๊กตา มาเพิ่มความสนุก ตื่นเต้น ด้วยก็ยิ่งดี